ราคา Mobile Phone  ราคา Mobile Phone  ราคา Mobile Phone

มีราคา ดอทคอม ราคา ดูราคา ค้นหา ราคาถูก

ราคา ค้นหา ค้นหาร้าน ราคาถูก

   ราคา Mobile Phone
Nokia   BlackBerry   Apple   Oppo   Motorola   Samsung   Sony Ericsson   LG   i-mobile   GNET   Wellcom   HTC   
ราคา Mobile Phone Mobile Phone
[ 798 ร้านค้า ]
ราคา คอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์
[ 216 ร้านค้า ]
"> ราคา เครื่องสำอาง<script async src=" width="38" height="40" border="0" /> ">เครื่องสำอาง
"> [ 456 ร้านค้า ]
ราคา สินค้าทั่วไป สินค้าทั่วไป
[ 2269 ร้านค้า ]
ราคา แฟชั่น แฟชั่น
[ 712 ร้านค้า ]
"> ราคา คอนโดมิเนียม<script async src=" width="38" height="40" border="0" /> ">คอนโดมิเนียม
"> [ 30 ร้านค้า ]




ราคามือถือมาบุญครอง mbk มือถือราคาถูก เปรียบเทียบราคามือถือ mbk

เช่า wifi ญี่ปุ่น เช่า wifi ญี่ปุ่น รับเครื่องได้ที่ไทย ใช้งานได้ที่ญี่ปุ่น ส่งเครื่องกลับคืนในไทย
 



เลือกหมวดสินค้าที่ต้องการค้นหา


เครือข่ายมือถือ

AIS
1175

1175

1175

1175

0-2502-5000

1678

1678

1128

1331

1777

0-2900-9000

PCT
0-2900-9000


ตรวจสอบยอดเงินมือถือ

*911

900121

1811

*1001

#123#

91111


เบอร์ศูนย์บริการทั้งหมด

0-2255-2111

0-2248-3030

0-2689-3232

0-2351-8666

0-2722-1118

0-2351-8666

0-2975 – 5555

0-2641 5159-60

0-2363-4355

HTC
0-2640-3399

081-122-5766

1175 ?? 8

082-000-3333

TWZ
0-2953-9400

0-2308-1010

LG
0-2204-1888





แพคเกจร้านค้าออนไลน์


เช็คราคาMobile Phone CHECK PRICE | ค้นหาราคาMobile Phone เช็คราคาMobile Phoneวันนี้

Nokia   BlackBerry   Apple   Oppo   Motorola   Samsung   Sony Ericsson   LG   i-mobile   GNET   Wellcom   HTC   
ใต้เงาฝนต่อหน้าทะเลและผู้คน...ประจวบคีรีขันธ์

 

ใต้เงาฝนต่อหน้าทะเลและผู้คน ประจวบคีรีขันธ์

 

ฤดูมรสุมคลี่คลุมเมืองเล็ก ๆ แห่งทะเลอ่าวไทยไว้ด้วยม่านฝน มันหลอมรวมชีวิตบนฝั่งให้เคลื่อนไหวไปตามข้อจำกัดของฤดูกาล ในวันที่เราไปถึงประจวบคีรีขันธ์ เรือไดหมึก เรือประมงเล็กก่ายเกยเรียงรายแน่นอ่าวประจวบ ใครบางคนว่ามันคือภาพลงตัวทางสายตาและเฟรมถ่ายภาพ ขณะที่พี่น้องประมงริมฝั่งเฝ้ารอห้วงยามลมสงบ

          เวลาน้ำขึ้นตามปฏิทินข้างขึ้นข้างแรม ชีวิตกลางทะเลและกลิ่นคาวปลาดูจะงดงามและมีคุณค่ามากกว่า ถัดเหนือขึ้นมาจากทะเล ห้องแถวไม้ที่ประกอบกันขึ้นเป็นย่านเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง ไม่ห่างหายผู้คน มันไร้อารมณ์ปรุงแต่งประเภทรำลึกอดีต เพราะตรงหน้าคือปัจจุบัน อันมีจิตวิญญาณ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงและเป็นไป

          หลายปีที่ผมเทียวไปเทียวมากับเมืองประมงเล็ก ๆ ในอ่าวประจวบคีรีขันธ์ บางคราวผ่านทางมาเพื่อฝากท้องกับอาหารสักมื้อ ขณะที่หลายหนก็เลือกมุมสงบริมทะเลเป็นที่พักพิง สิ่งใดกันแน่ฉุดดึงให้หลายคนเข้ามาเยือนที่นี่ เมืองเล็ก ๆ ที่มีระยะห่างระหว่างเขตเขาตะนาวศรีชายแดนไทย-เมียนมาร์ จรดฝั่งทะเลอ่าวไทยเพียงราว 12 กิโลเมตร หลายสิ่งกลมกลืนและสร้างทิศทางอันเหมาะสมให้ชีวิตที่หายใจ อยู่ในเมืองที่ “แคบ” ที่สุด ไม่เคยตกหล่นเลือนหาย แม้ว่าโฉมหน้าของวันเวลาจะพยายามพลิกเปลี่ยนพวกเขาไปเท่าใดก็ตาม


 

ใต้เงาฝนต่อหน้าทะเลและผู้คน ประจวบคีรีขันธ์
 
 
  ยามเช้าที่อ่าวน้อย หมู่บ้านชาวประมงอันเงียบสงบ หาดสีน้ำตาลนวลเจือกลิ่นฝนอ่อน ๆ เชื้อเชิญให้ผู้มาเยือนก้าวเท้าเดินสัมผัส มันไม่ได้ขาวเนียนชวนโรแมนติกเหมือนหาดท่องเที่ยวอื่น ๆ แต่ก็สะอาดที่สุดเท่าที่หาดประมงเล็ก ๆ แห่งหนึ่งจะเป็นได้ ลอบหมึกและอวนปูก่ายกองอยู่ริมหาด ชีวิตหากินยามฤดูฝนของพี่น้องอ่าวน้อยหลงเหลืออยู่กับการซ่อมอวน แห พับม้วนมันเป็นทบ ๆ อย่างชำนิชำนาญ เพื่อให้ไม่ติดเป็นปมยามคลี่กางที่กลางทะเล
 
 

ใต้เงาฝนต่อหน้าทะเลและผู้คน ประจวบคีรีขันธ์
 
 
   “ไม่มีแดดก็มีแต่ปลาสด” ชายกลางคนใบหน้าและสีผิวกร้านแดดทะเลว่าจริง ๆ แล้ว บ้านอ่าวน้อยคือหมู่บ้านที่หล่อเลี้ยงตัวเองด้วยงานประมงอย่างจริงแท้ “หากเป็นช่วงแดดดี แดดจัด ตามลานบนฝั่งนี่มีแต่แผงตากปลา ตากหมึก ทุกบ้านล่ะ”

          ผมนึกย้อนไปเกือบสิบปีที่มาเยือนอ่าวน้อย ครั้งนั้นแผงปลาฉิ้งฉ้างเหยียดยาว โดยมีปลายทางหลักอยู่ถึงประเทศศรีลังกา บางบ้านแน่นเต็มไปด้วยแผงหมึก หญิงชราและเด็ก ๆ สาละวนกับการงานตรงหน้าแทนการพร่ำสอนด้วยวาจา ส่วนพวกผู้ชายแสนกำยำ ชีวิตไกลบ้านของพวกเขานั้นอยู่กลางทะเลอ่าวไทย นาทีขึ้นฝั่งคือเรื่องของการพักผ่อนหลังรอนแรม
 
 
ใต้เงาฝนต่อหน้าทะเลและผู้คน ประจวบคีรีขันธ์
 
 
เหนืออ่าวน้อยจากการเดินขึ้นไปสักการะพระพุทธรูปปางไสยาสน์ภายในถ้ำของวัด อ่าวน้อย (วัดเขาคั่นกระได) คือภาพกระจ่างตาของหมู่บ้านชาวประมงเล็ก ๆ ห้วงยามมรสุมส่งผลให้เรือประมงแนบเกยชายหาด ลอยลำเรียงรายเป็นจุดเล็กจุดน้อยประดับผืนทะเล มันกว้างไกลใหญ่โต มีฉากหลังคือที่ราบอันเป็นไร่สับปะรดและทิวเขาตะนาวศรีห่มหมอกฝน

          ลัดเลาะผ่าน เขาตาม่องล่าย ที่เกาะกุมตำนานและความคิดความเชื่อของคนที่อยู่กินกับทะเลในเรื่องของชื่อ เกาะ ภูมิประเทศ และสัณฐานทรวดทรงของธรรมชาติอันรายล้อม เราก้าวเข้าไปที่ริมทะเลเพียงเพื่อจะพบว่า ดอกผลของแรงงานนั้นมีคุณค่าหอมหวานเพียงใด
 
 
ใต้เงาฝนต่อหน้าทะเลและผู้คน ประจวบคีรีขันธ์
 
 
สะพานปลาบ้านอ่าวน้อยแกร่งทนอยู่ในหลืบลับของเขาตาม่องลาย กลิ่นทะเลคละคลุ้งอบอวล ผสมอยู่ด้วยภาพการงานยามปลาเช้า เรือประมงขนาดใหญ่เรียงรายสงบนิ่ง ไร้เสียงเครื่องกระหึ่มก้อง เปลี่ยนความคึกคักมาอยู่ในสุ้มเสียงของลูกเรือประมงที่ปนเปไปกับปริมาณปลา อันมหาศาล และการขนย้ายถ่ายเทจากทะเลสู่ฝั่งแผ่นดิน ลูกเรือแรงงานพม่าและเขมรที่เต็มไปด้วยมัดกล้ามท่ามกลางการงาน คือภาพเคลื่อนไหวหลักของสะพานปลา ในเสียงโหวกเหวกปนเปฟังไม่ได้ศัพท์ ผสมผสานอยู่ด้วยความหวังแห่งการมีชีวิตและห้วงยามผ่อนเพลาพักผ่อนหลังงาน หนักกลางทะเล

          บ่ายนี้เรือปลาเล็กเข้าเสียเป็นส่วนใหญ่ ปลาทูมาเป็นอันดับหนึ่งตามด้วยหมึกซึ่งถูกคัดแยกตามขนาด ปลายทางของพวกมันไม่พ้นที่มหาชัย และหลายคนก็ว่าเจ้าของเรือก็ล้วนเป็นคนจากที่นั่นเสียเป็นส่วนใหญ่หมึกสาย ตัวเขื่อง ๆ ถูกดึงออกจากลอบที่ร้อยด้วยหอยสังข์ในเชือกเส้นโต มันน่าทึ่งถึงทักษะและการคิดประดิษฐ์อุปกรณ์ประมงของพวกเขา
 
 

ใต้เงาฝนต่อหน้าทะเลและผู้คน ประจวบคีรีขันธ์
 
 
 “หมึกสายราคาดี แต่ก็หายาก บางคนเขาก็ว่าไม่คุ้มน้ำมัน” ป้าและลุงในเรือลำเล็กเล่าเพลินขณะชูหมึกที่มีหนวดใหญ่โต พวกมันจะถูกส่งขึ้นไปอยู่ในมุมหนึ่งในซูเปอร์มาร์เก็ต หรือไม่ก็ไปปะปนอยู่ในครัวพื้นบ้านในเมนูคั่วกะทิ หอมแดง ข่า ตะไคร้ ตามอาหารจานพื้นบ้านของคนท้องถิ่นภาคใต้

          ความคึกคักจางคลายลงเมื่อรถห้องเย็นคันท้าย ๆ จากไปสู่ถนนเพชรเกษมด้านนอก เหลือเพียงบาร์คาราโอเกะในห้องแถวเก่าทึม และเสียงเพลงปนความสนุกสนานของลูกเรือ พวกเขาผลัดเปลี่ยนมาอยู่ในชุดร่วมสมัยแบบวัยรุ่นบนฝั่ง กำเงินที่แลกมาด้วยหยาดเหงื่อและชีวิตหน่วงหนัก ใช้จ่ายมันสู่ความรื่นรมย์เล็ก ๆ น้อย ๆ หรือไม่ก็เพื่อคนที่รออยู่บนฝั่ง เท่าที่ชีวิตของคนธรรมดาคนหนึ่งจะพึงมี

          ถนนเล็ก ๆ เลียบหาดพาเราข้ามคลองบางนางรมเลาะสู่อ่าวประจวบ มันคดโค้งรูปจันทร์เสี้ยวและหม่นเทาไปในฤดูฝน ทะเลเปิดกว้าง เกาะหลัก เกาะแรด เกาะไหหลำ และเกาะร่มเรียงรายต่อเนื่อง และที่สูงเด่นอยู่ปลายอ่าวในส่วนของกองบิน 53 คือ เขาล้อมหมวกอันเป็นเอกลักษณ์ของวิวอ่าวประจวบ

          ยามเย็นถนนสายเลียบชายหาด คือ ที่ทางอันรื่นรมย์ของคนปั่นจักรยานออกกำลัง ครอบครัวที่มาสังสรรค์กันในร้านอาหารทะเลที่แสนสด แต่ราคาถูก ซึ่งเรียงรายเหนือตลิ่ง หนุ่มสาวหลายคู่เลือกวิวโรแมนติกมองทะเล ขณะที่เฒ่าทะเลบนเรือไดหมึกปรับแต่งตรวจเช็กโคมไฟสีเขียว และพร้อมจะออกสู่หน้าอ่าวในยามค่ำ
 
 


ใต้เงาฝนต่อหน้าทะเลและผู้คน ประจวบคีรีขันธ์
 
 
 เราสวนความชันของบันได 396 ขั้น ขึ้นสู่ยอดเขาช่องกระจก ของวัดธรรมิการาม ลมเย็นรื่นละลายเหงื่อเมื่อขึ้นไปถึง ภาพเต็มตาของทะเลประจวบทั้ง 3 อ่าว ทั้งอ่าวน้อย อ่าวประจวบ และอ่าวมะนาว ล้วนประกอบขึ้นมาเป็นบ้านริมทะเลของคนที่นี่อย่างจริงแท้ สำหรับผู้คนของท้องทะเล มันอาจไร้แง่มุมลงตัวแบบโปสการ์ดสวย ๆ ทว่าเมื่อร้อยเรียงปะติดปะต่อกันขึ้นราวจิ๊กซอว์ ทั้งเกลียวคลื่นฝูงปลา รวมไปถึงเรี่ยวแรงและความหวังในการดำรงชีวิต มันอาจเปี่ยมชัดอยู่ด้วยนิยามของคำว่าบ้านริมทะเลอันแสนคงทน

          ถนนสู้ศึกที่ถัดจากทะเลขึ้นมาเพียงนิดยังเงียบเชียบ จะว่าไปมันไม่เคยเนืองแน่นอะไรนัก แม้ที่นี่คือ ย่านที่เคยคึกคักที่สุดในตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์ราวสี่สิบห้าสิบปีก่อน

          “บ้านที่เห็นหันหน้าติดทะเลน่ะ พวกคนทำประมงเก่าแก่ ส่วนคนแถวสู้ศึกนี่ค้าขายหรือไม่ก็รับราชการ” ผมนั่งอยู่กับ เฉลิมพล อภัยรี ตรงมุมหนึ่งของอาคารไม้แสนสวย เนื้อไม้ทั้งประตูและส่วนอื่น ๆ เก่าแก่ แต่มันเลื่อม สะท้อนว่ามันไม่เคยห่างหายการดูแล ที่นี่เคยเป็นที่หลบภัยของทหารไทย ครั้งเมื่อกองทัพญี่ปุ่นบุกขึ้นยึดฝังประจวบที่อ่าวมะนาวสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

          “ตอนนั้นคุณพ่อคุณแม่ให้ทหารที่ลอยคอล่องทะเลมาจากอ่าวมะนาวหลบพัก หาเสื้อผ้า หาข้าวปลาให้กิน ผมฟังเรื่องราวเช่นนี้มาตั้งแต่เด็ก ประจวบมันเมืองราชการ สถานที่ราชการเยอะ ผมว่าอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ที่ดินริมทะเลหน้าหาดเป็นบ้านพักของราชการ ทำให้อะไร ๆ เปลี่ยนแปลงไปช้า” เฉลิมพลว่าหากเป็นที่ดินของเอกชนเหมือนแถบหัวหินหรือปราณบุรี คนรุ่นเขาอาจนึกหน้าตาของคำว่าความสงบเงียบไม่ออก

          ห้องแถวไม้ที่กระจายกันเป็นชุด ๆ อยู่บนถนนเก่าแก่ของเมืองประจวบเหล่านี้ คือ ตัวตนของย่านการค้าเล็ก ๆ ในเมืองริมทะเล มันส่งต่อความรุ่งเรืองสู่ลูกหลาน ตกทอดเป็นชุดห้องแถวไม้ทั้งแบบชั้นเดียว หรือที่เป็นหลังใหญ่ตกแต่งฟู่ฟ่า มีหลายฉลุ หน้าจั่ว ซึ่งล้วนบ่งบอกฐานะของแต่ละเจ้าในอดีต
 
 

ใต้เงาฝนต่อหน้าทะเลและผู้คน ประจวบคีรีขันธ์

ใต้เงาฝนต่อหน้าทะเลและผู้คน ประจวบคีรีขันธ์
 
 
 “สมัยเตี่ยรุ่น ๆ ที่นี่คึกคักมาก คนต่างถิ่น คนเรือ หรือแม่ค้าแถบคลองวาฬก็เข้าที่ตลาดใน” ทุกวันนี้ สุดารัตน์ ประจวบศุภกิจ ยังคงอยู่หน้าแก้วกาแฟโบราณและโต๊ะไม้เช็กโกทรงสวย ลูกค้าล้วนคือคนรุ่นก๋ง รุ่นเตี่ย ร้านซวงเฮงของเธอสวยยามแสงสายระบายลอด แต่เติมที่นี่คือโรงแรมอันเป็นที่พักค้างของเซลล์แมนต่างถิ่น หรือคนที่ขึ้นล่องเหนือใต้ด้วยรถไฟ

          “แต่เดิมกองบินยังไม่เปิดให้คนเข้าไปเที่ยวอ่าวมะนาว คนก็มาพักผ่อนกันที่หน้าหาด หรือไม่ก็มาเดินซื้อหาของในตลาดนี่ละ โรงหนังประจวบรามานี่คนแน่น หรือโรงแรมอย่างประจวบสุขนี่ใครได้จัดเลี้ยงที่นั่นถือว่าโก้” คุณป้าร้านข้าวหมูแดงฝั่งตรงข้ามเดินเข้ามาทักทายเหมือนทุกวัน

          ชุดห้องแถวตรงข้ามร้านซวงเฮงที่เป็นร้านของป้ารวมถึงเพื่อนบ้านใหม่เอี่ยม มันถูกสร้างใหม่หลังไฟไหม้ไปราว 5 ปีก่อน ซึ่งแต่เดิมหนึ่งในนั้นคือ ร้านขายยาแผนโบราณเจ้าใหญ่อย่างเจริญพงศ์พาณิช ย่านการค้าโบราณบนถนนสู้ศึกนั้น คนประจวบคุ้นที่จะเรียกมันว่าตลาดในมากกว่า โดยยืดเอาถนนเลียบชายหาดเป็นหลัก จากปากคลองบางนางรมเชิงเขาช่องกระจกที่เรียกกันว่าปากคลอง ไล่เลยมาจนถึงกลางอ่าวเรียกชายทะเล และยาวไกลไปจนสุดอ่าวทางกองบินก็เรียกหัวบ้าน
 
 

ใต้เงาฝนต่อหน้าทะเลและผู้คน ประจวบคีรีขันธ์
 
 
ทุกวันเรามักใช้เวลาปะปนไปในตลาดเช้าของย่านตลาดในร่วมกับคนที่นี่ มันคือภาพอันชัดเจนของเมืองที่คั่นกลางระหว่างภูเขาและทะเล ในตลาดเต็มไปด้วยปลาอินทรี ปลาโอตัวแน่น หมึก หอยพันธุ์แปลก ๆ หรือปลาช้างเหยียบหัวแบน ๆ พี่แม่ค้าย่างปลาสุกหอมรอลูกค้าในทุกเช้า ขณะที่แผงใกล้กันสับปะรดประจวบก่ายกองสีเหลืองสด บางมุมคือหน่อไม้และของป่าจากฝั่งตะนาวศรี ที่อยู่ถัดเลยออกไปไม่ไกล จังหวะในตลาดนั้นขยับเขยื้อนไปตามแบบฉบับของเมืองที่มีทะเลขับเคลื่อน ไม่ได้ปรุงแต่งให้มันเนิบช้า ทั้งยังเจาะจงคงอยู่กับนาทีปัจจุบันและความเปลี่ยนแปลง เมื่อตลาดในเริ่มคลี่คลายความคึกคักยามเช้า เหลือเพียงความเงียบสงบและชีวิตจริงตามการค้าในห้องแถวไม้

          ยามสายพาเราออกมาที่ย่านตลาดนอก บนถนนก้องเกียรติที่เติบโตและเก่าแก่มาคู่กัน ที่นี่เก็บงำเรื่องราวของคนขึ้นล่องผ่านเมืองประจวบในสมัยที่การโดยสารทางรถไฟ ยังคงทำหน้าที่ของมันเป็นการคมนาคมหลัก

          “มันก็โตมาคู่กันล่ะ คนเรือ คนค้าขาย ข้าราชการ ตลาดนอก ตลาดใน มันเติบโตเจริญขึ้นก็จากขุนประจวบสมบูรณ์ ต้นตระกูลประจวบเหมาะที่เดิมท่านมาจากกุยบุรี” พี่ศรีสมร ศรีผุดผ่อง ขยายภาพความเชื่อมโยงในอดีตอยู่ที่โรงแรมยุติชัย โรงแรมไม้เก่าแก่บนถนนก้องเกียรติ กระเบื้องโบราณโชว์ลวดลายเหมือนเมืองแถบภูเก็ตนั้นมันวาว บ่งบอกว่ามันไม่เคยห่างหายการดูแล

          “กระเบื้องพวกนี้มาจากปีนัง สมัยเตี่ยเปิดโรงแรมใหม่ ๆ ก็ทางรถไฟนั่นล่ะ” เธอว่าแขกประจำแต่เดิมนั้นคือพวกข้าราชการและพ่อค้า ซึ่งทุกวันนี้ล้วนห่างหายและเปลี่ยนรูปแบบไปเป็นฝรั่งต่างชาติ ประเภทรักความสงบ เลือกพักอยู่ในมุมส่วนตัวกลางเมืองที่ไม่พลุกพล่านอย่างประจวบ

          “ห้องของเรายังเหมือนเดิม เปลี่ยนเฉพาะที่มันผุมันเก่า” พี่ศรีสมรยิ้มให้ลุงชาวนอร์เวย์ที่อยู่มาได้ร่วมสองเดือน ขณะบางนาทีก็เชื้อเชิญให้เราไปลองชิมก๋วยเตี๋ยวเป็ดเจ๊ยิ้นและข้าวแช่เจ้าอร่อยที่ตั้งอยู่ตรงโถงทางเข้าโรงแรม หากไม่นับทะเลกว้างใหญ่ที่สงบนิ่งอยู่ในเงาฝน ดูเหมือนสิ่งที่ตกทอดและฉายชัดความเป็นเมืองเล็ก ๆ อย่างประจวบนั้นจะไหลเวียนอยู่กับสถานที่และกิจกรรมในไม่กี่สิ่งอย่าง การค้าการติดต่อทางราชการบ้านเรือนเก่าแก่ และการเปลี่ยนผ่านของคืนวัน
 
 

ใต้เงาฝนต่อหน้าทะเลและผู้คน ประจวบคีรีขันธ์
 
 
   บางเช้าคุณลุงบ้านข้าง ๆ ซึ่งเป็นทหารเสนารักษ์เก่าในกองบิน 5 เปิดบานเฟี้ยมแสนสวยให้เห็นรถยนต์โตโยต้าคันคลาสสิก และตู้ยาแผนโบราณด้านในอันสวยขรึม ไม่ไกลกันบรรยากาศแบบครอบครัวตามเมืองไกลถูกฉายชัดง่าย ๆ ผ่านการไถ่ถามสารทุกข์สุกดิบ ขณะที่ยามเย็นริมทะเลเมื่อปั่นจักรยานตามใครสักคนไปนั่งมองโลกจริงแท้ที่เป็นเหมือนอู่ข้าว อู่ปลาของคนบนฝั่ง ความรู้สึกประเภทที่ว่า “คิดถึงบ้าน” ล้วนไม่ก่อเกิด

          นาทีเช่นนี้เกิดขึ้นทุกวันในเมืองเล็ก ๆ ระหว่างภูเขาและผืนทะเลอย่างประจวบคีรีขันธ์ ทั้งหมดหลอมรวมให้เมืองแห่งหนึ่งไหลเลื่อนเคลื่อนไหวไปอย่างมีอิสระ ค่อยเป็นค่อยไป หันหลังให้คำว่าสีสันอย่างไม่แยแส รวมไปถึงพร้อมจะเลือกทิศทางด้วยความคิดความเชื่ออันมาจากหัวใจของพวกเขาเอง
 
 
ขอขอบคุณ

        คุณกุลพงศ์ นาคน้อย และร้าน Hachi บ้านขนมปัง Cofee & Bike Shop สำหรับมิตรภาพและเรื่องราวสนุก ๆ ทั้งความเป็นอยู่ กาแฟ และจักรยาน ตลอดช่วงเวลาจัดทำสารคดี

        คุณเฉลิมพงศ์ อภัยรี สำหรับความตั้งใจและการพูดคุยในสายวันหนึ่ง

        เครื่องจีพีเอส Garmin Nuvi 1480 และ Nostra Digtal Map จากบริษัทอีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย จำกัด โทรศัพท์ 0 2266 9948 เว็บไซต์ gpssociety.com และ nostramap.com

คู่มือนักเดินทาง

          เมืองเล็ก ๆ อย่างประจวบคีรีขันธ์มีเสน่ห์สำหรับคนรักความเงียบสงบ ทะเลผืนสวย และความเก่าแก่ของชุนชนโบราณ เหมาะยิ่งสำหรับคนรักการพักผ่อนแบบส่วนตัว ไร้แสงสี รวมไปถึงคนรักการขี่จักรยานเที่ยวย่านโบราณ

การเดินทาง


          จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 35 ผ่านสมุทรสาคร จากนั้นแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 4 (เพชรเกษม) ผ่านเพชรบุรี ต่อไปถึงประจวบคีรีขันธ์ รวมระยะทางราว 280 กิโลเมตร

ชวนชิมลิ้มอร่อย


        มื้อเช้า บนถนนสละชีพ มีต้มเลือดหมูเจ้าอร่อย หอมกระเทียมเจียว รวมไปถึงแผงขายห่อหมกปลาอินทรีให้เลือกชิม

        มื้อเที่ยง แนะนำร้านก๋วยเตี๋ยวเป็ดเจ๊ยิ้น ถนนก้องเกียรติ ภายในพื้นที่ของโรงแรมยุติชัย ก๋วยเตี๋ยวเป็ดสูตรน้ำใส เนื้อเป็ดตุ๋นนุ่มเนียน ยังมีข้าวแช่โบราณและขนมใส่ไส้ให้เลือกกินเป็นของหวานล้างปาก

        มื้อเย็น หน้าที่ว่าการอำเภอเมืองฯ เป็นย่านโต้รุ่งที่มีอาหารตามสั่ง ก๋วยเตี๋ยวให้เลือกฝากท้องได้หลายร้าน ริมอ่าวประจวบมีเพิงขายอาหารทะเลรสอร่อย สด ราคาไม่แพงให้เลือกชิม

พักสบาย

        ริมอ่าวประจวบมีที่นอนชมวิวอ่าวหลายแห่ง เช่น โรงแรมหาดทอง โทรศัพท์ 0 7260 1050-5 เว็บไซต์ hadthong.com

        โรงแรมประจวบบีช โทรศัพท์ 0 3260 1288 เว็บไซต์ prachuapbeach.com

        หรือหากเลือกพักในย่านตลาด ใกล้ของกิน แนะนำโรงแรมเปิดใหม่ สะอาด ราคาไม่แพง โรงแรมอุ่นตะวัน โทรศัพท์ 0 3260 4931 เว็บไซต์ื ountawan.wordpress.com

พิกัดจีพีเอส


         อ่าวน้อย N11.81532 E099.79834
         เขาคั่นกระได N11.51840 E099.49496
         เขาตาม่องล่าย N11.50345 E099.59802
         อ่าวประจวบ N11.50360 E099.49081
         เขาช่องกระจก N11.48927 E099.47906
 
 
ที่มา   http://travel.kapook.com
โดย: มิสเตอร์ใจดี  เมื่อ: 07 ตุลาคม 2556
จำนวนผู้เข้าชม : 2,499

ข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ
2. dom33

 



Mirakar@ copyright 2009 created by www.mirakar.com
ราคามือถือ ค้นหาราคามือถือ และราคาสินค้าอื่นๆ ได้ที่นี่
ที่อยู่ : 222/5 ถนนหลานหลวง แขวงคลองมหานาค ป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100  อีเมล :