ราคา Mobile Phone  ราคา Mobile Phone  ราคา Mobile Phone

มีราคา ดอทคอม ราคา ดูราคา ค้นหา ราคาถูก

ราคา ค้นหา ค้นหาร้าน ราคาถูก

   ราคา Mobile Phone
Nokia   BlackBerry   Apple   Oppo   Motorola   Samsung   Sony Ericsson   LG   i-mobile   GNET   Wellcom   HTC   
ราคา Mobile Phone Mobile Phone
[ 798 ร้านค้า ]
ราคา คอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์
[ 216 ร้านค้า ]
"> ราคา เครื่องสำอาง<script async src=" width="38" height="40" border="0" /> ">เครื่องสำอาง
"> [ 456 ร้านค้า ]
ราคา สินค้าทั่วไป สินค้าทั่วไป
[ 2269 ร้านค้า ]
ราคา แฟชั่น แฟชั่น
[ 712 ร้านค้า ]
"> ราคา คอนโดมิเนียม<script async src=" width="38" height="40" border="0" /> ">คอนโดมิเนียม
"> [ 30 ร้านค้า ]




ราคามือถือมาบุญครอง mbk มือถือราคาถูก เปรียบเทียบราคามือถือ mbk

เช่า wifi ญี่ปุ่น เช่า wifi ญี่ปุ่น รับเครื่องได้ที่ไทย ใช้งานได้ที่ญี่ปุ่น ส่งเครื่องกลับคืนในไทย
 



เลือกหมวดสินค้าที่ต้องการค้นหา


เครือข่ายมือถือ

AIS
1175

1175

1175

1175

0-2502-5000

1678

1678

1128

1331

1777

0-2900-9000

PCT
0-2900-9000


ตรวจสอบยอดเงินมือถือ

*911

900121

1811

*1001

#123#

91111


เบอร์ศูนย์บริการทั้งหมด

0-2255-2111

0-2248-3030

0-2689-3232

0-2351-8666

0-2722-1118

0-2351-8666

0-2975 – 5555

0-2641 5159-60

0-2363-4355

HTC
0-2640-3399

081-122-5766

1175 ?? 8

082-000-3333

TWZ
0-2953-9400

0-2308-1010

LG
0-2204-1888





แพคเกจร้านค้าออนไลน์


เช็คราคาMobile Phone CHECK PRICE | ค้นหาราคาMobile Phone เช็คราคาMobile Phoneวันนี้

Nokia   BlackBerry   Apple   Oppo   Motorola   Samsung   Sony Ericsson   LG   i-mobile   GNET   Wellcom   HTC   
ไอนานเกิน 2 สัปดาห์ สาเหตุมาจากหลายโรค

 

ไอเรื้อรัง
 
  "ไอนานเกิน 2 สัปดาห์ อาจเป็นโรคปอดได้?"...เป็นข้อความที่เตือนให้ประชาชนทั่วไป ตระหนักถึงอาการแรกเริ่มของวัณโรคปอด หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "โรคปอด" เมื่อมีอาการไอดังกล่าวจะได้รีบไปหาหมอเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยแต่เนิ่น ๆ

          ความจริงแล้ว ผู้ที่มีอาการไอนานเกิน 2 สัปดาห์นั้น อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ อีกหลายอย่าง ตั้งแต่หลอดลมอักเสบจนถึงมะเร็งปอด
 
 
สาเหตุที่พบได้บ่อย

          สาเหตุที่พบบ่อยของอาการไอนานเกิน 2 สัปดาห์ ได้แก่ หลอดลมอักเสบ โรคภูมิแพ้ โรคกรดไหลย้อน และผลข้างเคียงจากยาลดความดันกลุ่มต้านเอช ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีสุขภาพโดยทั่วไปดี กินได้ น้ำหนักไม่ลด และไม่มีอาการหอบเหนื่อย
 
 
ไอเรื้อรัง
 
 
สาเหตุของอาการไอนานเกิน 2 สัปดาห์

1. วัณโรคปอด

          มักพบในคนวัยกลางคนขึ้นไป หรือผู้ที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำ (เช่น ผู้ที่ป่วยเป็นเอดส์ เบาหวาน ไตวายเรื้อรัง ขาดอาหาร พิษสุราเรื้อรัง ผู้ติดยาเสพติด คนชรา ผู้ที่ตรากตรำงานหนัก เป็นต้น) หรือผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคปอดเป็นระยะยาวนาน ผู้ป่วยมักมีอาการไอเรื้อรัง (อาจไอมีเสมหะหรือไม่มีก็ได้) ร่วมกับไข้เรื้อรังนานเป็นสัปดาห์ ๆ หรือเป็นแรมเดือน และอาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดร่วมด้วย บางรายอาจไอออกเป็นเลือดสด เจ็บหน้าอกหรือหอบเหนื่อย

2. มะเร็งปอด

          มักพบในคนวัยกลางคนขึ้นไป ผู้ป่วยมักมีอาการไอเรื้อรัง (อาจไอมีเสมหะหรือไม่มีก็ได้) อาจไอออกเป็นเลือดสด บางรายอาจมีอาการเจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรือมีไข้ร่วมด้วย ผู้ป่วยมักมีประวัติสูบบุหรี่จัดมานาน แต่บางรายอาจไม่มีประวัติสูบบุหรี่ก็ได้

3. ถุงลมปอดโป่งพอง

          มักพบในวัยกลางคนขึ้นไปและมีประวัติสูบบุหรี่จัดมานาน ผู้ป่วยมักมีอาการไอแบบมีเสมหะเรื้อรัง และหอบเหนื่อยง่าย โดยเฉพาะเวลาออกแรงทำกิจกรรมต่าง ๆ

4. หืด

          พบได้ตั้งแต่วัยเด็ก มักมีอาการไอร่วมกับหายใจหอบเหนื่อย หายใจมีเสียงดังวี้ด เมื่อสัมผัสถูกสารก่อภูมิแพ้ หรือสิ่งกระตุ้น เช่น ไรฝุ่นบ้าน (พบตามที่นอน หมอน ผ้าห่ม พรม เฟอร์นิเจอร์ ของเล่นที่ทำด้วยนุ่นหรือเป็นขน ๆ) เชื้อรา (พบสปอร์ตามความเย็น (เช่น อากาศเย็น แอร์เย็น) การออกกำลังกาย

          สำหรับสาเหตุข้อ 1-4 ดังกล่าว หากสงสัยควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว
 
 
ไอเรื้อรัง
 
 
     ส่วนสาเหตุข้อ 5-8 ต่อไปนี้ ผู้ป่วยมักมีสุขภาพโดยทั่วไปดี กินได้ น้ำหนักไม่ลด ไม่หอบเหนื่อย

5. หลอดลมอักเสบ

          มักพบหลังเป็นไข้หวัด ช่วงแรกมักไอมีเสมหะ (อาจเป็นสีขาว สีเขียวหรือสีเหลือง) บางรายอาจมีไข้ร่วมด้วย เมื่ออาการไข้ทุเลาและเสมหะลดน้อยลงและเปลี่ยนเป็นสีขาว (ผู้ป่วยอาจได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะมาแล้ว) ผู้ป่วยจะมีอาการไอแบบระคายคอ อาจมีเสมหะเล็กน้อยเป็นสีขาวหรือใส ๆ หรืออาจไอแบบไม่มีเสมหะ มักจะไอมากเวลาถูกสิ่งระคายเคือง เช่น ควันบุหรี่ ควันไฟ ฝุ่นละออง ลมที่พัดใส่ อากาศเย็น เป็นต้น อาการจะค่อย ๆ ทุเลา กว่าจะหายขาด อาจใช้เวลา 1-3 เดือน

6. โรคภูมิแพ้

          มักมีอาการคันจมูก คันคอ ไอ จาม บางรายมีน้ำมูกใส ๆ ร่วมด้วย มักมีอาการเมื่อสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่นละอองเกสร ขนสัตว์ อากาศเย็น เป็นต้น อาการจะทุเลาเมื่อกินยาแก้แพ้ และกำเริบอีกเมื่อหยุดยา

7. โรคกรดไหลย้อน

          มักพบในวัยกลางคนขึ้นไป (แต่ก็อาจพบในวัยหนุ่มสาวได้) มักมีอาการไอแห้ง ๆ หลังตื่นนอนตอนเช้า หรือหลังกินอาหารเกือบทุกมื้อ ไอเรื้อรังทุกวันนานเป็นสัปดาห์ ๆ หรือแรมเดือน โดยที่สุขภาพแข็งแรงดี บางรายอาจมีอาการแสบคอ หรือเสียงแหบช่วงหลังตื่นนอน พอสาย ๆ ทุเลาไปเอง บางรายอาจมีอาการแสบอก จุกอก หรือแสบจุกคอ

8. ผลข้างเคียงจากยาลดความดันกลุ่มต้านเอช (ACE inhibitors) เช่น อีนาลาพริล (enalapril)

          มักมีอาการไอแห้ง ๆ บ่อย ๆ ทุกวันเรื้อรังเป็นสัปดาห์ ๆ หรือแรมเดือน โรคที่สุขภาพแข็งแรงดี บางรายอาจไอจนปัสสาวะเล็ด ภาวะนี้พบได้บ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยหญิง แทบทุกคนเคยพบว่าหลังจากเป็นไข้หวัด ในบางครั้งจะมีอาการไอโครก ๆ นานเป็นแรมเดือน น่ารำคาญ ทำอย่างไรก็ไม่ยอมหายดังใจอยาก ในที่สุดก็ค่อย ๆ ทุเลาไปเอง บางครั้งอาจไอนานถึง 3 เดือน (จนมีการเรียกขานว่า "ไอ 3 เดือน")

          บางคนกังวลใจ ขอให้หมอตรวจนั่นตรวจนี่มากมาย กรณีนี้เกิดจากมีหลอดลมอักเสบแทรกซ้อน ทำให้เยื่อบุหลอดลม อ่อนแอลงและระคายเคืองง่ายเมื่อสัมผัสสิ่งระคายเคือง (เช่น ควันบุหรี่ ควันไฟ ฝุ่นละออง ลมที่พัดใส่ อากาศเย็น เป็นต้น) เยื่อบุหลอดลมกว่าจะฟื้นตัวแข็งแรงได้สนิทใช้เวลาประมาณ 1-3 เดือน ขึ้นกับสุขภาพของแต่ละคน ระหว่างที่ยังไม่พื้นหายดี ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงสิ่งระคายเคือง และถ้าไอมาก หมอก็จะให้กินยาแก้ไอบรรเทาจนกว่าร่างกายจะฟื้นตัวดี

          อาการ ดังกล่าวแตกต่างจากโรคภูมิแพ้ โดยที่โรคหลอดลมอักเสบจะมีอาการกำเริบนาน ๆ สักครั้ง ซึ่งมักจะมีอาการของไข้หวัดนำมาก่อน และจะไอแบบระคายคอ ไม่มีอาการจาม คันคอ คันจมูก ส่วนโรคภูมิแพ้จะมีอาการกำเริบอยู่เรื่อย ๆ เวลาสัมผัสถูกสารก่อภูมิแพ้ หรือเป็นตรงฤดูกาล (เช่น หน้าหนาว หน้าเกี่ยวข้าว) ทุกปี มักมีอาการจาม คันคอ คันจมูกมีน้ำมูกใส ๆ ไหลร่วมด้วย และมักทุเลาเมื่อกินยาแก้แพ้ผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจมีอาการห่างหายไปได้เมื่อ สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ

          ส่วน ผู้ที่ไม่มีลักษณะอาการดังกล่าวข้างต้น หากไอมากตอนหลังตื่นนอน หรือหลังกินอาหารแทบทุกมื้อทุกวันติดต่อกันเป็นแรมเดือน โดยที่สุขภาพทั่วไปแข็งแรงดี อาจเกิดจากโรคกรดไหลย้อน เนื่องจากกล้าม เนื้อหูรูดตรงปลายหลอดอากรหย่อนสมรรถภาพ ไม่สามารถอุดกั้นน้ำย่อย (มีฤทธิ์เป็นกรด) ในกระเพาะอาหารได้ จึงปล่อยให้น้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหารและทางเดินหายใจส่วนต้น กระตุ้นให้เกิดอาการต่าง ๆ รวมทั้งอาการไอเรื้อรัง

          หากสงสัย ควรปรึกษาแพทย์ เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้จริงและได้รับการรักษาด้วยยาลดการสร้างกรด อาการไอก็จะดีขึ้น

          ในวัยกลางคนและวัยสูงอายุที่เป็นโรคความดันเลือดสูง หากได้รับยาลดความดันกลุ่มต้านเอช (เช่น อีนาลาพริล) ก็อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่ประหลาดกว่ายากลุ่มอื่น คือ ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรังทุกวัน นานเป็นแรมเดือนพบได้ประมาณร้อยละ 25 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสตรีเพศ บางรายหมอไม่ได้บอกเตือนล่วงหน้า ผู้ป่วยและญาติก็ไม่ได้เอะใจว่าเกิดจากผลข้างเคียงของยาที่ใช้ เห็นไอผิดปกติ กลัวว่าจะเป็นโรคปอด จึงไปตรวจที่โรงพยาบาลอีกแห่งหนึ่งที่ไม่ทราบประวัติการรักษาของผู้ป่วย และหมอก็ไม่ได้สอบถามการใช้ยาชนิดนี้ หมอจึงตรวจนั่นตรวจนี่มากมายเพื่อให้ผู้ป่วยและญาติคลายกังวลสิ้นเปลืองเงิน ไปหลายสตางค์ ในที่สุดก็พบว่าเกิดจากยานี้

          ดังนั้น ผู้ป่วยวัยกลางคนหรือสูงอายุที่เป็นโรคความดันเลือดสูง หากจู่ ๆ มีอาการไอเรื้อรัง อย่าลืมคิดถึงสาเหตุข้อนี้ และควรกลับไปปรึกษาแพทย์คนเติมที่ให้การรักษาอยู่ก่อน อย่าเปลี่ยนแพทย์ให้เกิดความยุ่งยาก เมื่อแพทย์พบว่าเกิดจากสาเหตุนี้จริง ก็จะได้ปรับเปลี่ยนยาให้เหมาะสม
 
 

ไอเรื้อรัง
 
 
 ครอบครัวโรคปอด

          ชายหนุ่มวัย 30 ปีเศษ มีอาชีพขับรถให้นายจ้างวันหนึ่งมาปรึกษาหมอด้วยอาการไข้ ไอมีเสมหะเหลืองมา 4 วัน หมอวินิจฉัยว่าเป็นหลอดลมอักเสบเฉียบพลันก็ให้ยาแก้ไข้ และยาปฏิชีวนะ-อะม็อกซีซิลลินไปกินนัดมาติดตามผลอีก 3 วัน อาการไข้ไม่ลด กลับไอมากขึ้นและเริ่มมีอาการเบื่ออาหารและน้ำหนักลด

          คราว นี้หมอไม่นิ่งนอนใจ เพราะคิดว่าอาจเป็นอะไรที่มากไปกว่าหลอดลมอักเสบแน่ ๆ และก็คิดว่าอาจเป็นโรคปอดก็ได้ จึงส่งไปตรวจเอกซเรย์ปอดและตรวจเสมหะก็พบว่าเป็นโรคปอดจริง ๆ จึงได้ให้ยารักษาวัณโรค 3-4 ชนิดตามสูตรมาตรฐาน ประมาณ 2 สัปดาห์ต่อมาโรคก็ทุเลา ได้ให้ยาจนครบ 6 เดือน

          คนไข้เช่าห้องแคบ ๆ ไม่มีหน้าต่าง อยู่กับภรรยากับลูกชายอายุ 3 ขวบ แนะนำให้พาทั้ง 4 คนไปตรวจที่โรงพยาบาล หมอพบว่า ลูกชายมีความเสี่ยงสูง จึงให้ยาลูกชายกินป้องกันอยู่นานเป็นปี ซึ่งก็เป็นปกติดีมาตลอดจนถึงปัจจุบัน ส่วนภรรยา หมอเอกซเรย์ปอดแล้วไม่พบรอยโรค จึงไม่ได้ให้การรักษาใด ๆ

          หลังจากนั้น 2 ปี ภรรยามีอาการไข้ และไอมีเสมหะแบบเดียวกับคนไข้ ให้ยาปฏิชีวนะกินอยู่ 1 สัปดาห์ไม่ได้ผล เมื่อส่งเอกซเรย์ปอดและตรวจเสมหะ ก็พบว่าเป็นโรคปอดตามรอยสามี ได้ให้ยารักษาสูตรเดียวกันจนหายดี

ไอเรื้อรังอาจไม่ใช่เรื่องธรรมดา

          แม้ว่าผู้ที่มีอาการไอนานเกิน 2 สัปดาห์ส่วนใหญ่มักเกิดจากสาเหตุที่ไม่ร้ายแรง แต่บางรายก็อาจเกิดจากสาเหตุที่ร้ายแรง เช่น วัณโรคปอด มะเร็งปอดถุงลมปอดโป่งพอง โรคหืด เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ไข้เรื้อรัง ไอเป็นเลือด อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หอบเหนื่อย เจ็บหน้าอก เป็นต้น

          และแม้ว่าจะไม่มีอาการผิดปกติดังกล่าว แต่ให้การดูแลรักษาขั้นแรกมา 1-2 สัปดาห์แล้วไม่ทุเลา ก็อาจเกิดจากสาเหตุที่ไม่ธรรมดา (เช่น วัณโรคปอด มะเร็งปอดระยะแรก) ก็ได้ (ดูกรณีตัวอย่าง "ครอบครัวโรคปอด")

บทสรุป

          ผู้ที่มีอาการไอนานเกิน 2 สัปดาห์ควรรีบปรึกษาแพทย์ ถ้าพบอาการข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ร่วมด้วย

          1. มีไข้เกิน 7 วัน

          2. น้ำหนักลด

          3. ไอเป็นเลือด

          4. หอบเหนื่อย

          5. อ่อนเพลีย

          6. เบื่ออาหาร

          7. เจ็บหน้าอก

          8. มีความวิตกกังวล

          9. ให้การดูแลเบื้องต้นแล้วไม่ทุเลา
 
 
 
 
 
 
โดย: มิสเตอร์ใจดี  เมื่อ: 30 กันยายน 2556
จำนวนผู้เข้าชม : 2,428

ข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ
2. dom33

 



Mirakar@ copyright 2009 created by www.mirakar.com
ราคามือถือ ค้นหาราคามือถือ และราคาสินค้าอื่นๆ ได้ที่นี่
ที่อยู่ : 222/5 ถนนหลานหลวง แขวงคลองมหานาค ป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100  อีเมล :